เปิดร้านขายข้าวมันไก่ต้องลงทุนอะไรบ้าง พร้อมแจกสูตรฟรี!

เปิดร้านขายข้าวมันไก่ต้องลงทุนอะไรบ้าง พร้อมแจกสูตรฟรี!

ธุรกิจ

เว็บไซต์ SME ชี้ช่องรวย รายงานถึงการลงทุนเปิดร้านข้าวมันไก่ ต้องใช้อุปกรณ์อะไรบ้าง พร้อมแจกสูตรฟรีให้กับผู้ที่สนใจจะหันมาเปิดร้านทำรกิจขายข้าวมันไก่ โดยมีรายละเอียดดังนี้

อีกหนึ่งเมนูยอดฮิตที่ถูกปากคนส่วนใหญ่อย่าง “ข้าวมันไก่” เชื่อว่าหลายคนคงอยากจะเปิดร้านแต่ไม่รู้จะเริ่มต้นอย่างไร และต้องใช้งบลงทุนเท่าไหร่ ชี้ช่องรวย จึงอยากจะนำข้อมูลดีมาแบ่งปันกันว่าการเปิดร้านข้าวมันไก่นั้นจะต้องเตรียมอะไรบ้าง และยังมาพร้อมสูตรเด็ดที่สามารถนำไปทำขายได้ทันที มาดูกันเลยดีกว่าว่าจะมีอะไรบ้าง

อุปกรณ์และวัตถุดิบที่จะต้องใช้ในการเปิดร้านครั้งแรก งบประมาณ 25,000 บาท

  • หม้อหุงข้าวไฟฟ้า ราคาประมาณ 2,500 บาท
  • หม้อต้มไก่ ราคาประมาณ 1,000 บาท
  • กระทะทอดไก่ ราคาประมาณ 400 บาท
  • ตู้กระจก ราคาประมาณ 1,500 บาท
  • เคาน์เตอร์ หรือ รถเข็น ราคาประมาณ 8,000 บาท
  • มีดและเขียง ราคาประมาณ 600 บาท
  • จาน ชาม ถ้วยน้ำจิ้ม ช้อนส้อม ราคาประมาณ 800 บาท
  • เตาแก๊ส ถังแก๊ส ราคาประมาณ 3,500 บาท
  • โต๊ะ-เก้าอี้ ราคาประมาณ 2,500 บาท
  • ถุงพลาสติก ถุงร้อน หนังยาง ราคาประมาณ 200 บาท

วัตถุดิบที่จะต้องใช้

  • ไก่สดทั้งตัว ราคาโดยประมาณอยู่ที่ 49 บาทต่อกิโลกรัม
  • ข้าวหอมมะลิ ถุง 5 กิโลกรัม ราคาโดยประมาณอยู่ที่ 200 บาท
  • เครื่องปรุงรส และผักโรยหน้าต่างๆ ประมาณ 500 บาท

ต้นทุนอื่นๆ

  • ค่าเช่าสถานที่ (ถ้ามี) 5,000 – 15,000 บาท
  • ค่าไฟ ค่าน้ำ 2,000 บาท
  • เงินทุนหมุนเวียน 15,000 – 20,000 บาท
ทั้งหมดนี้เป็นอุปกรณ์ทั้งหมดที่จะต้องใช้ รวมไปถึงต้นทุนโดยประมาณอยู่ที่ไม่เกิน 30,000–50,000 บาท

ปัจจัยสำคัญในการเปิดร้านข้าวมันไก่

ความสะอาด อย่าลืมดูแลรักษาความสะอาดทั้งของร้าน บริเวณรอบๆร้าน รวมทั้งความสะอาดของพนักทุกคนในร้าน สร้างมาตรฐานให้ร้าน

สูตรเด็ดเคล็ดลับ แน่นอนว่ารสชาติต้องมาเป็นอันดับแรกร้านข้าวมันไก่มีอยู่มากมายหากจะเปิดร้านจะต้องมีสูตรเป็นของตัวเองที่ถูกปากลูกค้ามากที่สุด สามารถเข้าไปดูสูตรการทำข้าวมันไก่ได้ที่

น้ำจิ้มรสเด็ด หาสูตรน้ำจิ้มรสเด็ดไว้มัดใจลูกค้า ข้าวมันไก่จะอร่อยต้องมีน้ำจิ้มถูกปากเช่นกัน ที่สำคัญอย่าให้น้ำจิ้มน้อยเกินไป น้ำจิ้มน้อยจะทำให้ลูกค้าเลี่ยนเพราะความมันจากข้าว

ทำเลที่ตั้ง สิ่งสำคัญก่อนลงทุนเปิดร้านเมื่อมีเงินทุนและต้องพิจารณาทำเลขายให้ถี่ถ้วนเสียก่อน ทั้งรูปแบบการลงทุนด้วยตัวเอง หรือลงทุนซื้อแฟรนไชส์ เน้นทำเลย่านชุมชน มีผู้คนพลุกพล่าน เป็นทางผ่านไปยังสถานที่สำคัญๆ เช่น โรงเรียน มหาวิทยาลัย ออฟฟิศ สำนักงาน ตลาดนัด หน้าคอนโด หน้าอพาร์ทเม้นต์ ในศูนย์อาหาร เป็นต้น

ทั้งหมดนี้เป็นข้อมูลสำพหรับการเปิดร้านข้าวมันไก่ แต่สำหรับใครที่ไม่อยากจะเริ่มเองทั้งหมดก็สามารถเปิดธุรกิจในรูปแบบของแฟรนไชส์ได้

ติดตามข่าวสารของวงการธุรกิจต่างๆได้ที่นี่ คลิ๊กเลย ⇒⇒⇒ ‘ไอบีเอ็ม-ไอดีซี’ เจาะเทรนด์ ดิจิทัลสะเทือนโลกธุรกิจ ปี 66

‘ไอบีเอ็ม-ไอดีซี’ เจาะเทรนด์ ดิจิทัลสะเทือนโลกธุรกิจ ปี 66

‘ไอบีเอ็ม-ไอดีซี’ เจาะเทรนด์ ดิจิทัลสะเทือนโลกธุรกิจ ปี 66

โลกธุรกิจวันนี้กำลังเปลี่ยนผ่านจาก “ดิจิทัลทรานส์ฟอร์เมชัน” ไปสู่ “ดิจิทัลบิสิเนส” ยุคใหม่แห่งดิจิทัลที่ย่ิงมีความท้าทาย และองค์กรต้องก้าวตามให้ทันก่อนจะกลายเป็นผู้ตามที่ถูกทิ้งไว้ข้างหลัง

ซานดร้า อึ้ง รองประธานกลุ่มและผู้จัดการทั่วไป ไอดีซี เอเชียแปซิฟิกกล่าวว่า ช่วงสามปีที่ผ่านมาโลกธุรกิจได้ก้าวสู่ยุคใหม่ อันเป็นผลพวงจากการเร่งเครื่องดิจิทัลทั่วโลกและภายในภูมิภาค

โดยคุณลักษณะที่กำหนดยุคใหม่และเป็นสิ่งที่จะมีความสำคัญอย่างยิ่งสำหรับองค์กรในการขับเคลื่อนไปสู่ยุคดิจิทัลนี้คือ “contextualization” และ “real time at scale”

ไอดีซีระบุว่า มากกว่า 60% ของการใช้จ่ายทั้งหมดมาจากเทคโนโลยีที่สนับสนุนดิจิทัลทรานส์ฟอร์เมชัน ที่น่าสนใจ ภายในปี 2569 ราว 40% ของรายได้ทั้งหมดขององค์กรชั้นนำ 2,000 แห่งในเอเชีย (A2000) จะมาจากผลิตภัณฑ์ บริการ และประสบการณ์ดิจิทัล

‘ออโตเมชัน’ เชื่อมโลกอัจฉริยะ

ขณะที่ ภายในปี 2570 องค์กร 80% จะสามารถระบุมูลค่าของขีดความสามารถ/สินทรัพย์ดิจิทัลของตนได้อย่างถูกต้อง และจะทำให้มูลค่าตลาดเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยยะสำคัญ, ภายในปี 2567 องค์กร 30% จะมีกลยุทธ์บริหารภาวะวิกฤติและความต่อเนื่องทางธุรกิจที่ครอบคลุมอินเทลลิเจนซ์และช่วยรับมือวิกฤติเศรษฐกิจและดิสรัปชันในอนาคตได้อย่างคล่องตัวว่องไว

นอกจากนี้ ในปี 2566 การใช้จ่ายด้านเทคโนโลยีดิจิทัลขององค์กรในเอเชียแปซิฟิคจะเติบโต 3.5 เท่าของเศรษฐกิจ และเป็นการวางรากฐานสู่การดำเนินการเป็นเลิศ ความแตกต่างทางการแข่งขัน และการเติบโตในระยะยาว

สำหรับ 5 เทรนด์สำคัญที่ต้องจับตามองในปี 2566 ประกอบด้วย เทรนด์ที่ 1: Automation อัจฉริยะที่เชื่อมโยงระบบทั่วทั้งองค์กรจะเป็นกุญแจสำคัญของธุรกิจ องค์กรจำเป็นต้องย้ายตัวเองจากการใช้ RPA และ ออโตเมชัน แบบ rule-based ซึ่งมักถูกใช้แบบเจาะจงเฉพาะกับแต่ละกระบวนการ ไปสู่การผสานความอัจฉริยะทั่วทั้งกระบวนการและภาระงาน

ธุรกิจ

‘ข้อมูล’ กุญแจสร้างความสำเร็จ

เทรนด์ที่ 2: การเชื่อถือข้อมูลที่มีอยู่และความจำเป็นสูงสุดในการสามารถอินทิเกรทข้อมูลได้จากทุกแหล่ง โดย พอล เบอร์ตัน ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร ไอบีเอ็ม เอเชียแปซิฟิค อธิบายว่า ถ้าองค์กรไม่สามารถเข้าถึงข้อมูล ไม่สามารถใช้ประโยชน์จากข้อมูลได้ องค์กรก็จะไปได้ไม่ไกล

วันนี้ ธุรกิจที่ประสบความสำเร็จคือองค์กรที่ปรับตัวเข้ากับสภาพแวดล้อมได้เร็วที่สุด เรียนรู้และวิวัฒนาการได้เร็วที่สุด และเหล่านี้จำเป็นต้องอาศัยการแปลและการเรียนรู้จากข้อมูล ไม่ว่าในอุตสาหกรรมใดก็ตามต้องมีสถาปัตยกรรมข้อมูลที่ดี ใช้ “data fabric” เพื่อให้มั่นใจว่าจะสามารถเข้าถึงข้อมูลที่อยู่ในทุกแหล่งได้

เทรนด์ที่ 3: ไซเบอร์ซิเคียวริตี้ที่ฝังตัวและเชื่อมต่อทั่วทั้งอีโคซิสเต็ม ช่วงสามปีที่ผ่านมา จำนวนออนไลน์และโมบายล์สแกมเพิ่มขึ้นทั่วทั้งภูมิภาค ธนาคารต่างๆ ได้ลงทุนจำนวนมากทั้งในแง่กระบวนการ เทคโนโลยี และคน เพื่อบริหารจัดการซิเคียวริตี้และช่วยให้เป็นไปตามกฎของหน่วยงานกำกับดูแล

ยิ่งเมื่อภาครัฐและรัฐบาลเพิ่มการนำออนไลน์และโมบายมาใช้มากขึ้น ยิ่งเป็นจุดที่อาจเพิ่มโอกาสในการถูกโจมตี โดยสามปีที่ผ่านมาอุตสาหกรรมการดูแลสุขภาพถูกจับตาเป็นอย่างมาก เนื่องจากเฉพาะในภูมิภาคอาเซียน ปี 2563 ผลิตภัณฑ์เฮลธ์แคร์ปลอมซึ่งรวมถึงวัคซีนโควิด สร้างความสูญเสียถึง 2,600 ล้านดอลลาร์

เทรนด์ที่ 4: ความยั่งยืนคือเรื่องที่ทุกองค์กรต้องทำ กุญแจสำคัญในก้าวต่อไปของความยั่งยืน คือการที่องค์กรสามารถวัดคาร์บอนฟุตปรินท์จากการดำเนินงานของตนได้ เพื่อที่จะได้รู้ว่าต้องควบคุมหรือมีมาตรการอย่างไร

เทรนด์ที่ 5: พนักงานดิจิทัลและบุคลากรแห่งอนาคต วันนี้บุคลากรมีน้อยลง และเมื่อพิจารณาจากจำนวนที่มีอยู่ คนที่มีทักษะที่จำเป็นสำหรับการขับเคลื่อนดิจิทัลทรานสฟอร์เมชันยิ่งน้อยลงไปอีก เรื่องนี้เกิดขึ้นมาอย่างต่อเนื่องในช่วง 10-15 ปีที่ผ่านมา

3 กลยุทธ์ รับมือทุกวิกฤติ

ผู้บริหารไอบีเอ็ม เปิดมุมมองว่า สามเรื่องสำคัญที่องค์กรต้องให้ความสำคัญในปี 2566 ประกอบด้วย 1. การเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วของธุรกิจ (business velocity) ซีอีโอควรมองไปถึงความสามารถในการปรับเปลี่ยนตัวเองได้อย่างรวดเร็ว นั่นหมายถึงทำให้การดำเนินกระบวนการต่างๆ ทางธุรกิจเป็นไปอย่างรวดเร็วขึ้น และมีความคลาดเคลื่อนน้อยลง

ขณะที่ 2.การลดต้นทุน ด้วยวันนี้มีแรงกดดันเรื่องเงินเฟ้ออย่างรุนแรง การที่มีแรงงานน้อยลงแปลว่าค่าแรงเพิ่มขึ้น และนั่นหมายถึงภาวะเงินเฟ้อก็จะเพิ่มขึ้น ดังนั้นหนึ่งในแนวทางที่จะช่วยลดปัญหาจากภาวะเงินเฟ้อ คือการใช้เทคโนโลยีมาเป็นตัวช่วย

สุดท้าย 3. การยืดหยุ่นฟื้นตัวไว (Resilience) องค์กรธุรกิจและหน่วยงานภาครัฐต้องคิดในภาพใหญ่เกี่ยวกับสถาปัตยกรรมทางเทคโนโลยี และไม่จำกัดตัวเองอยู่ในกล่อง ที่ทำให้ไม่สามารถพัฒนาหรือปรับเปลี่ยนตามโลกได้ทัน เพราะเราต่างรู้อยู่แล้วว่าโลกกำลังเปลี่ยนไป

นอกจากนี้ แนวทางที่องค์กรควรให้ความสำคัญในปี 2566 ยังมี ความจำเป็นในการให้ความรู้เรื่องไซเบอร์ซิเคียวริตี้แก่พนักงานทั่วทั้งองค์กร, การประเมินจุดอ่อนหรือช่องโหว่ พร้อมมีระบบซิเคียวริตี้ที่เชื่อมต่อกัน รวมถึงกลยุทธ์ซิเคียวริตี้ “Zero trust” ช่วยให้องค์กรสามารถเพิ่ม “cyber resiliency” และบริหารความเสี่ยงอันเกิดจากสภาพแวดล้อมทางธุรกิจที่ไม่เชื่อมต่อกันได้

ติดตามข่าวธุรกิจและข่าวอื่นๆ ที่น่าสนใจได้ที่นี่ : ค่าเงินบาทวันนี้ 5/10/65 เปิดที่ระดับ 37.40 บาทต่อดอลลาร์ แข็งค่าขึ้น

ค่าเงินบาทวันนี้ 5/10/65 เปิดที่ระดับ 37.40 บาทต่อดอลลาร์ แข็งค่าขึ้น

ค่าเงินบาทไทยเช้าวันนี้ เปิดที่ระดับ 37.40 บาทต่อดอลลาร์ แข็งค่าขึ้น คลายกังวลเฟดอาจไม่จำเป็นต้องเร่งขึ้นดอกเบี้ยรุนแรง

 

หลังยอดตำแหน่งงานเปิดรับลดลงกว่า 1.1 ล้านตำแหน่ง สะท้อนแนวโน้มตลาดแรงงานสหรัฐฯ ที่ตึงตัวน้อยลง

นายพูน พานิชพิบูลย์ นักวิเคราะห์ประจำห้องค้าเงินธนาคารกรุงไทย ระบุ ค่าเงินบาทเปิดเช้านี้ ที่ระดับ 37.40 บาทต่อดอลลาร์ แข็งค่าขึ้น จากระดับปิดวันก่อนหน้า ที่ระดับ 37.60 บาทต่อดอลลาร์ หลังยอดตำแหน่งงานเปิดรับสหรัฐฯ ลดลงกว่า 1.1 ล้านตำแหน่ง สะท้อนแนวโน้มตลาดแรงงานสหรัฐฯ ที่ตึงตัวน้อยลง

สำหรับแนวโน้มค่าเงินบาทจากภาวะเปิดรับความเสี่ยงของตลาดที่กดดันเงินดอลลาร์และการปรับตัวขึ้นของราคาทองคำ คือ ปัจจัยสำคัญที่ช่วยหนุนให้เงินบาทปรับตัวแข็งค่าขึ้นและแข็งค่ามากกว่าแนวรับที่เราประเมินไว้ก่อนหน้า

 

ซึ่งหากรายงานข้อมูลเศรษฐกิจสหรัฐฯ ในวันนี้ ออกมาแย่กว่าคาดต่อเนื่อง ก็อาจยิ่งทำให้ผู้เล่นในตลาดต่างมองว่า เฟดอาจไม่จำเป็นต้องเร่งขึ้นดอกเบี้ย ทำให้บรรยากาศในตลาดการเงินยังคงอยู่ในภาวะเปิดรับความเสี่ยง กดดันให้เงินดอลลาร์ยังไม่สามารถปรับตัวขึ้นได้ และหนุนให้เงินบาทอาจแข็งค่าขึ้นได้บ้าง หรือ แกว่งตัว sideways ใกล้ระดับ 37.30-37.40 บาทต่อดอลลาร์ เนื่องจากระดับดังกล่าวถือว่าเป็นโซนแนวรับที่บรรดาผู้นำเข้าต่างก็รอจังหวะทยอยเข้าซื้อเงินดอลลาร์

ในช่วงที่ตลาดการเงินผันผวนสูงจากความไม่แน่นอนของหลายปัจจัย เราคงแนะนำให้ผู้ประกอบการควรใช้กลยุทธ์ป้องกันความเสี่ยงจากอัตราแลกเปลี่ยนที่หลากหลายมากขึ้น โดยเฉพาะการใช้ Options ซึ่งจะช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการป้องกันความเสี่ยงได้ดีในช่วงที่ตลาดผันผวนหนักมองกรอบเงินบาทวันนี้ คาดว่าจะอยู่ที่ระดับ 37.25-37.50 บาท/ดอลลาร์

ตลาดการเงินสหรัฐฯ ยังคงอยู่ในบรรยากาศเปิดรับความเสี่ยง (Risk-On) อย่างต่อเนื่อง หนุนโดยความหวังของผู้เล่นในตลาดว่า เฟดอาจไม่จำเป็นต้องเร่งขึ้นดอกเบี้ยรุนแรงต่อเนื่อง หลังรายงานข้อมูลเศรษฐกิจสหรัฐฯ เริ่มส่งสัญญาณการชะลอตัวของเศรษฐกิจมากขึ้น โดยล่าสุด ยอดตำแหน่งงานเปิดรับ (JOLTS Job Openings) ได้ปรับตัวลดลงกว่า 1.1 ล้านตำแหน่ง สู่ระดับ 10.1 ล้านตำแหน่ง แย่กว่าที่ตลาดคาด สะท้อนแนวโน้มตลาดแรงงานสหรัฐฯ ที่ตึงตัวน้อยลง

ซึ่งตลาดจะรอประเมินภาพตลาดแรงงานสหรัฐฯ จากรายงานข้อมูลตลาดแรงงานที่สำคัญในวันศุกร์นี้ โดย หากยอดการจ้างงานนอกภาคเกษตรกรรม (Nonfarm Payrolls) เพิ่มขึ้นน้อยกว่าคาดไปมาก ก็อาจทำให้ผู้เล่นในตลาดยิ่งคาดว่า เฟดอาจไม่เร่งขึ้นดอกเบี้ยรุนแรง