กรมบัญชีกลาง เผยผลใช้สิทธิเบิกจ่ายตรงผ่านแอปฯ “เป๋าตัง” พุ่ง 7 ล้าน

กรมบัญชีกลาง เผยผลการใช้สิทธิเบิกจ่ายตรงผ่านแอปพลิเคชัน “เป๋าตัง” สำหรับการเข้ารับการรักษาพยาบาลที่สถานพยาบาล มูลค่าการใช้สิทธิรวมเป็นเงินจำนวนทั้งสิ้น 7,054,809 บาท 

วันที่ 21 มีนาคม 2566 นางสาวกุลยา ตันติเตมิท อธิบดีกรมบัญชีกลาง เปิดเผยว่า ตามที่กรมบัญชีกลางได้เพิ่มช่องทางการใช้สิทธิเบิกจ่ายตรงเงินสวัสดิการเกี่ยวกับการรักษาพยาบาลประเภทผู้ป่วยนอก ผ่านกระเป๋าสุขภาพบนแอปพลิเคชัน “เป๋าตัง” สำหรับการเข้ารับการรักษาพยาบาลที่สถานพยาบาล ตั้งแต่วันที่ 7 ธันวาคม 2565 เพื่ออำนวยความสะดวกและเพิ่มการเข้าถึงการใช้สิทธิเบิกจ่ายตรงให้แก่ผู้มีสิทธิและบุคคลในครอบครัว

โดยดำเนินการเป็นโครงการนำร่องกับสถานพยาบาลของทางราชการแล้วจำนวน 7 แห่ง ได้แก่ 1. โรงพยาบาลวชิรพยาบาล คณะแพทยศาสตร์วชิรพยาบาล มหาวิทยาลัยนวมินทราธิราช 2. โรงพยาบาลมหาราชนครเชียงใหม่ 3. สถาบันมะเร็งแห่งชาติ 4. โรงพยาบาลสมเด็จพระปิ่นเกล้า กรมแพทย์ทหารเรือ 5. โรงพยาบาลศูนย์การแพทย์มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ 6. โรงพยาบาลสระบุรี และ 7. โรงพยาบาลวชิระภูเก็ต

โดยการดำเนินการโครงการดังกล่าว ได้รับความสนใจและการประสานงานจากสถานพยาบาลจำนวนหลายแห่ง เพื่อขออนุญาตเข้าร่วมโครงการกับกรมบัญชีกลางและอยู่ระหว่างการพัฒนาระบบร่วมกับธนาคารกรุงไทย เพื่อรองรับการเพิ่มช่องทางการใช้สิทธิเบิกจ่ายตรงผ่านแอปพลิเคชัน ซึ่งคาดว่าภายในไตรมาส 2 ปีงบประมาณ พ.ศ.2566 จะมีสถานพยาบาลที่เข้าร่วมโครงการ และพร้อมให้บริการเพิ่มอีกจำนวน 2 แห่ง

สุขภาพ กรมบัญชีกลาง

อธิบดีกรมบัญชีกลาง กล่าวเพิ่มเติมว่า ผู้มีสิทธิหรือบุคคลในครอบครัวที่ประสงค์จะใช้สิทธิเบิกจ่ายตรงผ่านแอปพลิเคชัน สามารถดาวน์โหลดแอปพลิเคชันเป๋าตัง และลงทะเบียนเพื่อเข้าใช้งานกระเป๋าสุขภาพได้ ก่อนเข้ารับบริการที่สถานพยาบาล และสามารถตรวจสอบรายชื่อสถานพยาบาลที่พร้อมให้บริการ ได้ที่เว็บไซต์กรมบัญชีกลาง www.cgd.go.th หัวข้อ รักษาพยาบาล/ข้อมูลน่ารู้เกี่ยวกับค่ารักษาพยาบาล

นอกจากนี้ กรมบัญชีกลางยังมีแผนที่จะพัฒนาต่อยอดการดำเนินการ โดยปรับปรุงแนวปฏิบัติการเบิกจ่ายตรงเงินสวัสดิการ เกี่ยวกับการรักษาพยาบาลประเภทผู้ป่วยนอก ภายในเดือนมิถุนายน 2566 เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพระบบเบิกจ่ายตรง ให้สามารถรองรับการใช้สิทธิเบิกจ่ายตรงผ่านแอปพลิเคชัน

สำหรับการเข้ารับบริการตรวจรักษาผู้ป่วยทางไกล หรือ Telemedicine สอดรับกับแนวโน้มการให้บริการทางการแพทย์ที่เปลี่ยนแปลงไป ภายหลังจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 ต่อไปด้วย.

ข่าวสุขภาพแนะนำ>>>>2023: ยาลดความอ้วนยุคใหม่มาแล้ว | ศุภวุฒิ สายเชื้อ

2023: ยาลดความอ้วนยุคใหม่มาแล้ว | ศุภวุฒิ สายเชื้อ

ข่าวใหญ่ในแวดวงของบริษัทยาเมื่อปลายปี 2022 คือการรายงานผลการทดลองยา Semaglutide ที่ได้ผลสำเร็จอย่างงดงาม

1.ผู้ที่ได้รับยา Semaglutide น้ำหนักตัวลดลงเฉลี่ย 14.9% ในขณะที่คนที่ได้รับยาหลอก (placebo) น้ำหนักตัวลดลง 2.4%

2.ผู้ที่ได้รับยา Semaglutide และปรับเปลี่ยนการดำเนินชีวิตลดน้ำหนักตัวลงอย่างน้อย 20% (ใน 1 ใน 3 ของผู้ที่ได้รับยา Semaglutide)

ที่สำคัญคือเป็นงานวิจัยที่ทดลองกับเยาวชน (teenagers) ที่เป็นโรคอ้วน (obese) ซึ่งเป็นกลุ่มโรคอ้วนที่ลดน้ำหนักตัวได้ยากมากที่สุด

ในอดีตหากคาดหวังจะลดน้ำหนักตัวมากเช่นนั้น ก็จะต้องพึ่งพาการผ่าตัดและเพิ่มการใช้ยาลดความอ้วนรุ่นเก่าที่มีผลข้างเคียงที่เป็นอันตรายอย่างมากกับร่างกาย

แต่ยา Semaglutide นั้นไม่พบผลข้างเคียงรุนแรงแต่อย่างใด เพราะเป็นการปรับสูตรมาจากยารักษาโรคเบาหวานที่เคยได้รับการรับรองจากสำนักงานอาหารและยาของสหรัฐมานาน 4 ปีก่อนหน้าแล้ว (ยาชื่อ Liraglutide)

เรื่องสุขภาพ

ตัวยาสำคัญที่ถูกนำมาใช้ในการรักษาโรคเบาหวาน (และโรคอ้วน) คือฮอร์โมน GLP-1 (Glucagon-like peptide1) ที่กระตุ้นการผลิตอินซูลิน ที่จะทำให้น้ำตาลออกจากเส้นเลือดเข้าสู่เซลล์ ซึ่งส่งผลให้ระดับน้ำตาลในเลือดลดลง (enhanced insulin production and reduced blood sugar)

ปัญหาคือยานี้ราคาไม่ถูกเลยคือคาดว่าประมาณ 1,300 เหรียญต่อเดือน (และส่วนใหญ่บริษัทประกันสุขภาพจะไม่ออกค่าใช้จ่ายให้)

นอกจากนั้นยังพบว่าเมื่อเลิกใช้ยา Semaglutide และเลิกปรับเปลี่ยนการดำเนินชีวิต น้ำหนักตัวของผู้ที่ผ่านพ้นการทดลองไปแล้ว ก็จะเพิ่มขึ้นคิดเป็นสัดส่วนประมาณ 2/3 ของส่วนที่ได้ลดลงไปเมื่อเวลาผ่านไป 1 ปี

บางคนอาจคิดว่าทางออกที่ดีกว่าคือ การมีวินัยมากขึ้นในการลดปริมาณการกินและออกกำลังกายอย่างเป็นประจำ แต่ก็ต้องยอมรับว่าผลงานวิจัยในอดีต (ปี 1990) มีข้อสรุปว่า “genetic influences on body mass index are substantial, whereas childhood environment had little or no influence”

งานวิจัยดังกล่าวตีพิมพ์ในวารสาร New England Journal of Medicine โดยการเปรียบเทียบน้ำหนักตัวของฝาแฝดที่ถูกเลี้ยงให้เติบโตในสภาพแวดล้อมที่แตกต่างกัน

โดยอาศัยข้อมูล ฝาแฝด identical twin 93 คู่ที่เติบโตในสภาพแวดล้อมที่แตกต่างกัน เปรียบเทียบกับฝาแฝด fraternal twins 218 คู่ที่เติบโตในสภาพแวดล้อมที่แตกต่างกัน และเปรียบเทียบกับฝาแฝด fraternal twins 208 คู่ที่เติบโตขึ้นในบ้านเดียวกัน

(identical twin คือพี่-น้องเพศเดียวกันที่ยีนเหมือนกัน เพราะเป็นครรภ์แฝดซึ่งเกิดจากการปฏิสนธิของไข่ใบเดียวกับอสุจิตัวเดียว แล้วมีการแยกเป็น 2 ตัวอ่อน ส่วน fraternal twins คือ แฝดต่างไข่ (fraternal twins) เกิดจากการปฏิสนธิระหว่างเซลล์ไข่และสเปิร์ม 2 ชุด)

อย่างไรก็ดี CDC ของสหรัฐสรุปว่า การเป็นโรคอ้วนนั้นไม่ได้เกิดขึ้นจากความผิดปกติของยีนใดยีนหนึ่ง แต่งานวิจัยสรุปว่าอาจมียีนมากกว่า 50 ชนิดที่ส่งผลต่อความเสี่ยงที่จะเป็นโรคอ้วน

โดยอาจมีความผิดปกติของยีน MC4 R ที่เป็นปัจจัยสำคัญในการทำให้เกิดโรคอ้วน

ข้อสรุปของผม (เป็นการส่วนตัว) คือจะพยายามให้มากที่สุดในการควบคุมน้ำหนักของตัวเองให้อยู่ในเกณฑ์ โดยการจำกัดเวลาการกินให้ไม่มากกว่าเวลาออกกำลังการทุกวัน (หากวันหนึ่งใช้เวลากินอาหาร 90 นาที ก็จะออกกำลังกาย 90 นาทีเช่นกัน)

และจะไม่กินอาหารเย็นเพื่อให้ท้องว่างทุกวันวันละ 12-14 ชั่วโมง โดยเวลาว่างเอาไปออกกำลังกาย แต่ก็เข้าใจอย่างยิ่งว่าโรคอ้วนนั้นกำลังเพิ่มขึ้นอย่างก้าวกระโดดทั่วโลก

ข้อมูลของ WHO พบว่าจำนวนประชากรที่เป็นโรคอ้วนเพิ่มขึ้นเท่าตัวในช่วง 1975-2016 (ข้อมูลล่าสุด) โดยประมาณ 13% ของประชากรทั่วโลกเป็นโรคอ้วน (ในประเทศไทยน่าจะประมาณ10% ของประชากร) และโรคอ้วนกำลังเพิ่มขึ้นอย่างมากในเยาวชนอีกด้วย

ดังนั้นยาชนิดใหม่เพื่อลดความอ้วนได้ดียิ่งกว่า Semaglutide ที่ตลาดกำลังรอคอยให้สำนักงานอาหารและยาของสหรัฐอนุมัติในปี 2023 นี้คือยา Tirzepatide ของบริษัท Eli Lily ซึ่งเป็นยาฉีดเช่นกัน

Tirzepatide มีตัวยาสำคัญที่กระตุ้น GLP-1 (เหมือนกับ Semeglutide) และอีกตัวหนึ่งคือ GIP (Glucose-dependent insulinotropic polypeptide)

ซึ่งเป็นเรื่องแปลกเพราะในการทดลองในหนูพบว่าหากระดับ GIP ต่ำก็จะทำให้หนูไม่เป็นโรคอ้วน แต่ในกรณีนี้การเพิ่ม GIP กลับช่วยให้สามารถลดน้ำหนักได้มากขึ้น

ข่าวแนะนำ : “ลดน้ำหนัก” กิน “ผลไม้อบแห้ง” ดีหรือไม่

“ลดน้ำหนัก” กิน “ผลไม้อบแห้ง” ดีหรือไม่

อาหารสำหรับคนที่ลดน้ำหนัก มีมากมายให้เลือกสรร

แต่สำหรับใครที่สงสัยว่า “ผลไม้อบแห้ง” สามารถกินในช่วงที่เรากำลังลดน้ำหนักหรือไม่ ผลไม้อบแห้งมีประโยชน์ต่อร่างกายมากแค่ไหน

ตัวอย่างผลไม้อบแห้ง

  • ลูกพรุน
  • เมลอน
  • กล้วย
  • มะม่วง
  • แอปริคอต
  • แอปเปิล
  • สัปปะรด
  • มะเขือเทศราชินี
  • อินทผลัม
  • ส้ม
  • ลูกเกด
  • ลูกฟัก

พญ.ธิดากานต์ รุจิพัฒนกุล หรือ หมอผิง ผู้เชี่ยวชาญด้านผิวพรรณและเวชศาสตร์ชะลอวัย โรงพยาบาลสมิติเวช สุขุมวิท ระบุถึงข้อดีหรือข้อเสียของผลไม้อบแห้งต่อคนที่กำลังลดน้ำหนัก ดังนี้

ข้อดีของผลไม้อบแห้ง

  1. เป็นตัวเลือกทดแทนขนมขบเคี้ยวทอดกรอบ
  2. มีเส้นใยอาหาร
  3. เป็นแหล่งวิตามิน
  4. ผลไม้บางประเภทมีแคลเซียมเสริมกระดูก