Nostalgia ร้านกาแฟและโรงหนัง

Nostalgia ร้านกาแฟและโรงหนัง การเลือกย่านเมืองเก่าให้กลายเป็นบ้านหลังที่ 3…

Nostalgia-ร้านกาแฟและโรงหนัง

กล้องหลายๆ ตัว ที่ติดอยู่ภายในหรือนอกร้านของแบรนด์ “สตาร์บัคส์” หลายๆ แห่งนั้น… ถ้าเราไปแอบดูเล่นๆ ก็จะพบ “ทิศทางการเดินของลูกค้า” เวลาอยู่ในร้าน

สิ่งนี้เรียกว่า Customer Journey เข้าใจอย่างเรียบง่ายได้ว่า คนมาซื้อกาแฟ สนใจอะไรในร้าน เดินไปตรงไหน นั่งตรงไหน หรือทำอะไร?

การเห็นพฤติกรรมของลูกค้าเวลามาร้าน ทำให้แบรนด์นำไปปรับ “ท่าที” กับแฟนๆ ของสาขานั้นๆ ซึ่งหมายความว่า คนซื้อต่างโลเกชันกัน ก็อาจ “เดิน ซื้อ เลือก” ต่างกัน (เหมือนคนดูหนัง “พี่มากพระโขนง” ดูที่รังสิต อาจหัวเราะคนละฉากกับบางนา และไม่เหมือนกันกับ ปิ่นเกล้า… แม้หัวเราะ)

แต่ถ้าเราลอง “ส่ายกล้อง” ไปทั่วร้าน เราจะพบ “สิ่งเก่า” หรือ “ความหลัง” แอบอย่างกระมิดกระเมี้ยน หรือแสดงตัวอย่างโจ่งแจ้งในหลายสาขา

เรื่องราวเก่าก่อน ในทำนอง “วันชื่นคืนสุข” นี้เอง ที่ระยะหลังๆ แบรนด์นี้เขานำมา “ประกอบการขาย” อย่างน่าชื่นชม แบบปรบมือดังๆ (จนนิ้วอักเสบ)

ที่ดังสุดปีนี้ ตั้งแต่ช่วงปีใหม่ คือ การที่รีโนเวตโรงหนังเก่าในเกาหลี อายุเกือบ 70 ปี อย่าง Hyungdong แล้วทำเป็นโรงหนังร้านกาแฟ จนกลายเป็นแหล่งเช็กอิน สถานที่ต้องไปของบรรดานักท่องเที่ยว ทั้งเกาหลีและต่างประเทศ (ลองนึกภาพโรงหนังสกาลากลายเป็นร้านกาแฟ)

แต่ถ้าติดตามแบรนด์ร้านกาแฟอันดับหนึ่งของโลก ที่ชื่อร้านมาจากตัวละครในวรรณกรรม Moby dick ปี 1851 ของ เฮอร์แมน เมอร์วิลล์ (นักเขียนอเมริกัน ผู้ชื่นชอบการจิบกาแฟ ไม่ใช่ดื่ม)

เราก็พบว่า โรงหนังที่ถูกนำไปรีโนเวต หรือเช่าพื้นที่นั้น ไม่ใช่ครั้งแรก – ก่อนหน้านี้มีทั้ง โบสถ์เก่า บ้านเก่า มิวเซียมเก่า และโรงหนังเก่า ที่ดังมากคือ ปี 2017 เข้าไปใช้ Japanese old house อายุ 100 ปี แบบนั่งพื้น ตาม tradition ของญี่ปุ่น

คำถามที่ผุดขึ้นในใจ คือ ทำไมต้องไปอยู่ใน old house หรือ old town ย่านเก่า? แล้วที่ผุดพรายตามมาอีก มันสร้างลูกค้าให้มากขึ้น-จริงหรือ?

แนวคิดหลักยืนหนึ่งของสตาร์บัคส์ คือ ต้องการให้ร้านกาแฟนี้ เป็น third place หรือบ้านหลังที่สามของลูกค้า (คนละอย่างกับบ้านเมียน้อยหลังที่สอง)

“บ้านจริงๆ” คือ หลังแรก “ที่ทำงาน” คือ หลังที่สอง… แบรนด์อยากเป็นที่พักพิงหลังที่สาม ไม่ใช่มาซื้อกาแฟแล้วกลับไป มาทำงาน มาประชุม จะมานอนยามบ่ายยังได้ (เป็นเอก รัตนเรือง สมัยทำงานฟิล์มแฟคฯ ยังมาใช้สตาร์บัคส์ สาขาทองหล่อนอนบ่อยๆ แล้วตื่นเย็น ไปทำงาน 555)

การที่แบรนด์นี้ เลือกมุ่งสู่การตลาด old town หรือเป็นหนึ่งเดียวกันกับ “ย่านเก่า ชุมชนเก่า” ในประเทศต่างๆ นั้น เพื่อเก็บเกี่ยว ส่งเสริมคุณค่า ประวัติศาสตร์เอย ความหลังเอย วันชื่นคืนสุขของผู้คน และกระแสสังคม เทรนด์การตลาด ที่พัดพามาทาง “เรื่องราวเก่าก่อน” มานานหลายปี

แต่สิ่งที่แบรนด์เหนือชั้นกว่ามากคือ ขณะที่หลายๆ แบรนด์ ทำการตลาดย้อนยุค Retro Marketing แบบฉาบฉวย อย่าง “ฉกใช้” เช่น ประกันชีวิตเอาตู้เพลงมาตั้งประกอบอีเวนต์, มือถือออกแบบรูปลักษณ์แบบเก่า หรือบริษัทรถออกแบบ font ตัวอักษรกับสี แบบยุค 80s เพื่อขายของสั้นๆ เพื่อต้องการ “ยืนเคียงข้าง” ไหล่อิงไหล่ กับคุณค่าสิ่งเก่า ในระยะยาว ผ่าน “สถานที่” สำคัญๆ ทั่วโลกการตลาดอารมณ์ “ถวิลหาอดีต” หรือที่เรารู้จักกันดีในถ้อยคำ Nostalgia เมื่อเล่นกับ ย่านเก่า ที่ผู้คนผูกพัน เติบโตมา นอกจากคนจะไม่รู้สึกว่า “ทำลายลง” กลับมีมุมมองว่า “ได้รักษาไว้”

สาขาที่เกียวโต หรือโรงหนังอายุ 70 ปีที่เกาหลี คือตัวอย่างที่ชัดเจน ลองคิดว่าสมมติ แบรนด์เข้าไปซื้อ ทุบทิ้ง สร้างใหม่ พวกเขาอาจถูก “แอนตี้ต่อต้าน” อยู่ในใจผู้คนในย่านนั้น ที่สำคัญกว่านั้นคือ การตลาดย่านเก่า ไม่ระบุการโฟกัสที่ “คนช่วงอายุไหน” บ้านเก่าคือ All generations

เพราะทุกคนเคยมี “บ้านเก่า” จะจากลาแบบเจ็บๆ หรือจากกันหวานๆ….นั่นก็อีกเรื่องหนึ่ง

อัพเดทข่าว เพิ่มเติม : พาไป! ส่องความเจ๋ง SOA B-UNIT บริษัทจำลอง ของ DEKSOA

พาไป! ส่องความเจ๋ง SOA B-UNIT บริษัทจำลอง ของ DEKSOA

พาไป! ส่องความเจ๋ง SOA B-UNIT บริษัทจำลอง ของ DEKSOA ได้ทำงานจริงกับลูกค้า จากคณบดีคณะการออกแบบและสถาปัตยกรรมศาสตร์ SPU

เชื่อเหลือเกินว่าหลายๆคน คงยังไม่เคยทราบว่า SOA B-UNIT คืออะไร ตั้งมาเพื่ออะไร วันนี้เราจะพาทุกท่านไปส่องความเจ๋งของ SOA B-UNIT บริษัทจำลอง ของ DEKSOA SPU จากปากของ อาจารย์ธีรบูลย์ พิศาลอภิพงศ์ คณบดีคณะการออกแบบและสถาปัตย์กรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีปทุม ว่าบริษัทจำลองดังกล่าวมีอะไรกันบ้าง ตามมาฟังกันได้เลยครับ.

จุดเริ่มต้นของ B-UNIT By… SOA

สวัสดีครับ ก่อนอื่นต้องบอกว่าเราไม่ได้เรียก SOA B-UNIT ว่าเอเจนซี่ แต่เราเรียกว่า Business B-UNIT ซึ่งก่อตั้งมาตั้งแต่ปี 2559 ด้วยความรู้สึกที่ว่า คณะการออกแบบและสถาปัตย์ฯ เป็นคณะที่เรียนอ้างอิงจากการทำงานจริง แต่ด้วยความที่งาน ที่เราเข้าใจว่ามันเป็นงานจริงๆคือเป็นงานสมมติที่อาจารย์เป็นคนตั้งโจทย์ขึ้นมา ดังนั้นคำถามของผมก็คือ เราจะทำยังไงให้นักศึกษาเรา ได้รับงานและทำงานจริง จากโจทย์จริงๆ ของลูกค้า ซึ่งสามารถนำไปต่อยอดจริงๆ ได้ อย่างที่สองคือผมเห็นว่า ส่วนใหญ่นักศึกษาของเราทำงานระหว่างเรียนไปด้วย มันอาจเป็นการเสียโอกาสที่เขาไม่ได้ใช้ทักษะที่เรียนในการทำงาน ผมว่านี่คือโจทย์ที่เราตั้งขึ้นมาก่อน จัดตั้ง B-UNIT

ออกแบบ SOA B-UNIT

B-UNIT ทำงานกันยังไง?

อาจารย์ธีรบูลย์ : ภาพรวมในการทำงานของเราคือ เรามีเว็บไซต์ที่ให้ลูกค้าของเราทั้งกายในและภายนอกเข้ามาติดต่อกับเรา ซึ่งสามารถติดต่อผ่านเว็บไซต์หรือผ่านช่องทางส่วนตัวก็ได้ เมื่อได้รับงานจากลูกค้าก็จะมีอาจารย์สองท่านที่ทำหน้าที่เป็น Director คือ อาจารย์จรรยา ผลประเสริฐ และ ผศ.อานนท์  พรหมศิริ ซึ่งจะคอยดูว่างานที่ได้รับนั้นเหมาะกับทั้ง 3 กลุ่มสตูดิโอของเราอย่างโร ดูความต้องการของลูกค้า และเลือกนักศึกษาเข้ามารับชิ้นงานนั้นๆ จากนั้นถึงจะ ให้นักศึกษาเข้ามาร่วมพูดคุยกับลูกค้า พัฒนาผลงาน นำเสนองานจนเสร็จสิ้นกระบวนการและส่งมอบงานให้ลูกค้า

สนใจมาร่วมทีม.. มาเลยเก่งขึ้นแน่!

อาจารย์ธีรบูลย์ : ผมมองว่า B-UNIT เป็นเหมือน โอกาส และเมื่อเรามีโอกาส เราไม่ควรตั้งเงื่อนไข ที่จะหยิบโอกาสให้กับตัวเอง ดังนั้นถ้าคุณรู้สึกว่าโอกาสเป็นสิ่งที่คุณควรคว้าให้กับตัวเอง คนที่มี Passion ทำงานระหว่างที่เรียนอยากมีประสบการณ์ระหว่างเรียน และมองว่านี่คือพื้นที่ซึ่งเป็นโอกาสการทำงานจริง มีผลงานที่ปรากฎขึ้นจริง หรือใครที่ต้องการรายได้ที่จะช่วยผู้ปกครองแบ่งเบาภาระ คนที่มีคุณสมบัติเหล่านี้ สามารถเดินเข้ามาสมัครได้เลยครับ เพื่อให้ตัวเรามีโอกาสที่จะ พัฒนาตัวเองมากขึ้น เพราะผมไม่สนว่าคุณจะมีความสามารถมากน้อยแค่ไหน ยังไงโครงสร้างของ B-UNIT นั้นถูกออกเบบมา เพื่อจัดกลุ่มการทำงานเป็นเลเวล และฝึกฝนให้เก่งขึ้นอยู่แล้วครับ

อัพเดทข่าว เพิ่มเติม : Hotel Clover ประกาศรางวัล “CloveRedi2Art” ให้แก่นักศึกษาที่ชนะการประกวด

Hotel Clover ประกาศรางวัล “CloveRedi2Art” ให้แก่นักศึกษาที่ชนะการประกวด

Hotel Clover Group จัดงานแถลงข่าวการประกาศรางวัล “CloveRedi2Art” โดยได้รับเกียรติจาก รศ.ดร. ปรีชญา สิทธิพันธุ์ และทีมผู้บริหาร Hotel Clover Group

Hotel Clover

เป็นผู้มอบรางวัลให้แก่นักศึกษา แทงมวยสเต็ป2 ที่ชนะการประกวดการออกแบบคอนเซ็ปต์ใหม่ของห้องอาหาร นอกจากนี้แขกผู้มีเกียรติภายในงานยังจะได้ร่วมลิ้มรส Menu Degustation (6-course Modern French Cuisine with a Twist) ภายใต้คอนเซ็ปต์ “Experience Delightful Moments” รังสรรค์โดย เชฟอดุลย์ ชุมภู Executive Chef และยังมีนักแสดงสาว กระติ๊บ-ชวัลกร วรรธนพิสิฐกุล เป็นพิธีกรในงานนี้อีกด้วย เมื่อวันเสาร์ที่ 29 ตุลาคมที่ผ่านมา ณ ห้องอาหาร Clover Sky Bar & Restaurant โรงแรม Hotel Clover Asoke

สำหรับ “CloveRedi2Art” เป็นโครงการริเริ่มด้านความรับผิดชอบต่อสังคมขององค์กรของ Hotel Clover เปิดตัวในเดือนมิถุนายน 2014 โดยงานรับผิดชอบต่อสังคมขององค์กรครั้งแรกคือ การแข่งขันจิตรกรรมฝาผนังสำหรับ Hotel Clover The Arts ประเทศสิงคโปร์ ซึ่งได้เชิญนักเรียนจากโรงเรียนต่าง ๆ ในสิงคโปร์ให้เข้าร่วม หลังจากความสำเร็จของการแข่งขันจิตรกรรมฝาผนัง ได้มีการจัดเวิร์กช็อป นิทรรศการ และการแสดงโดยศิลปินที่มีความมุ่งมั่นทั้งในและต่างประเทศ

Hotel Clover เชื่อมั่นเสมอในการแบ่งปันและส่งเสริมงานศิลปะทั้งในและต่างประเทศ และหล่อเลี้ยงนักออกแบบที่มีความมุ่งมั่นมากที่สุดเท่าที่เราจะทำได้ เราจินตนาการว่าแบรนด์ Hotel Clover เป็นเวทีสำหรับนักออกแบบที่ต้องการแสดงการออกแบบของพวกเขาต่อสาธารณะ

การแข่งขันออกแบบร้านอาหารสำหรับ Clover Sky Restaurant & Bar เปิดโอกาสให้นักศึกษาได้สัมผัสประสบการณ์การทำงานในโลกธุรกิจและนำเสนองานออกแบบคอนเซ็ปต์ใหม่ของร้านอาหาร ซึ่งมีรายชื่อดังนี้

รางวัลที่ 1 จำนวนเงิน 100,000 บาท
งานออกแบบ : Bird Eye View จาก สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าลาดกระบัง (KMITL)
ผู้เข้าร่วม :
น.ส. นันทพร กุมรีจิตร
น.ส. ภูชญา ชุมพล
น.ส. ศลิษา แสงนา

รางวัลที่ 2 จำนวนเงิน 50,000 บาท
งานออกแบบ : หิ่งห้อย FireFly จาก มหาวิทยาลัยศรีปทุม
ผู้เข้าร่วม :
น.ส. พีรดา ทัพสิริยากร
น.ส. อมรรัตน์ สูนกลาง
น.ส. พรไพลิน แซ่ตุ่ง

รางวัลที่ 3 จำนวนเงิน 25,000 บาท
งานออกแบบ : The Sense จาก จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
ผู้เข้าร่วม:
น.ส. กันธิดา คูสุวรรณ
น.ส. อรปรียา ศุภนามัย
น.ส. พิมพิศุทธิ์ อภัยพิม

โดยได้รับเกียรติจาก รศ.ดร. ปรีชญา สิทธิพันธุ์ และ ทีมผู้บริหาร Hotel Clover Group เป็นผู้มอบรางวัลให้แก่นักศึกษาที่ชนะการประกวดภายในงาน

นอกจากนี้ยังได้นักแสดงสาว กระติ๊บ-ชวัลกร วรรธนพิสิฐกุล เป็นพิธีกรภายในงานอีกด้วย และ แขกผู้มีเกียรติภายในงานยังได้ลิ้มรส Menu Degustation (6-course Modern French Cuisine with a Twist) ภายใต้คอนเซ็ปต์ “Experience Delightful Moments” รังสรรค์โดย เชฟอดุลย์ ชุมภู Executive Chef, เชฟมีประสบการณ์การทำอาหาร 15 ปี อาหารไทย 5 ปี และอาหารฝรั่งเศส 10 ปีได้รับอิทธิพลจากลุงของเขาที่เป็นเชฟและเชี่ยวชาญด้านอาหารฝรั่งเศส ก่อนร่วมงานกับ Hotel Clover Asoke เชฟเคยร่วมงานกับ Robuchon Bangkok เป็นเวลา 3 ปี และเป็น mentor ของเขาเป็นเชฟชาวฝรั่งเศสที่เป็นแรงบันดาลใจให้เขาเรียนรู้ศิลปะการทำอาหารฝรั่งเศสต่อไป เมนูเหล่านี้เป็นการนำเสนอความสร้างสรรค์ของเชฟด้วยให้เข้ากับกลิ่นอายแบบไทยๆ เอาไว้อย่างลงตัวอีกด้วย อันได้แก่

เมนูที่ 1 : ฟัวกราส์ย่างราดด้วยหัวหอมหลายแบบพร้อมใบร็อกเก็ต จับคู่กับพิซซ่าต้มยำ (First Kiss)
ฟัวกราส์เซียร์ในกระทะด้วยความร้อนและอุณหภูมิที่สมบูรณ์แบบจนสุกกำลังดีและยังคงความชุ่มฉ่ำเต็มชิ้น เสิร์ฟพร้อมหอมหัวใหญ่โซเตจนกระทั่งอ่อนนุ่มเป็นสีน้ำตาล ปรุงรสด้วยน้ำมันมะกอกบริสุทธิ์ เนย และน้ำผึ้งอย่างดี และอโวคาโด เบบี้ร็อคเก็ต รับประทานคู่กับต้มยำพิซซ่าขนาดพอดีค

เมนูที่ 2 : ซุปครีมต้นหอมคลาสสิค
ซุปครีมต้นกระเทียมซึ่งปรุงโดยเทคนิคเฉพาะของฝรั่งเศส โดยเคี่ยวนานกว่าสองชั่วโมงเพื่อให้ได้รสชาติและกลิ่นที่หอมนุ่มนวล

เมนูที่ 3 : หอยเชลล์ฮอกไกโดย่าง เสิร์ฟพร้อมเบบี้แครอท ซอสทับทิมและเบอร์รี่รวม( พิเศษHighlight!!)
หอยเชลล์ฮอกไกโดตัวใหญ่เต็มปากเต็มคำเสิร์ฟพร้อมกับเบบี้แครอทและซอสเบอร์รี่รวมที่มีรสเปรี้ยวสดชื่น

เมนูที่ 4 : ปลากะพงย่างในเตาอบกับราตาตูยล์กับคาเวียร์สีดำและน้ำสลัดแครอท
ปลากระพงทะเลอบพร้อมสมุนไพรฝรั่ง เสิร์ฟพร้อมกับราตาตุยตุ๋นสไตล์ฝรั่งเศสต้นตำรับ และคาเวียร์ดำกับซอสแครอท

เมนูที่ 5 : บะหมี่เป็ดแบบ โฮเทล โคลเวอร์ อโศก
น้ำซุปที่เคี่ยวนานมากกว่า 8 ชม. เคล็ดลับของน้ำซุปคือสมุนไพร 10 ชนิดที่ใช้นำมารังสรรค์ จนกลายมาเป็นน้ำซุปอันกลมกล่อมที่โดดเด่นอันเป็นเอกลักษณ์หนึ่งเดียวของโรงแรม Hotel Clover Asoke

เมนูที่ 6 : เครมบรูเลและเซอร์ไพรส์
ซึ่งเมนูเหล่านี้จะเปิดให้ขายให้กับลูกค้าทุกท่าน ให้ได้มีสัมผัสกับประสบการณ์อาหารชั้นเลิศในราคาสบาย ๆ ตั้งแต่วันนี้เป็นต้นไป ท่านที่สนใจอยากสามารถ booking ได้ พิเศษเพียง 1,650.- บาท (จากราคาปกติ 1,950.- บาท) เป็นเมนู 6 คอร์สจับคู่กับเครื่องดื่ม ตลอดเดือนพฤศจิกายนนี้