ธปท.ระดมนักเศรษฐศาสตร์ ประชุมนัดพิเศษ ถกปมเศรษฐกิจไทย 8 มี.ค.นี้

ธปท.ส่งจดหมายเชิญประชุม 8 มี.ค. 66 นักเศรษฐศาสตร์ เผยเป็นการแลกเปลี่ยนมุมมองความคิดเห็นจากคนภายนอกต่อภาพรวมเสถียรภาพเศรษฐกิจโดยรวม

วันที่ 3 มีนาคม 2566 นักเศรษฐศาสตร์สถาบันการเงินแห่งหนึ่ง เปิดเผยกับ “ประชาชาติธุรกิจ” ว่า ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ได้มีการส่งจดหมายเชิญนักเศรษฐศาสตร์ นักวิเคราะห์ นักเศรษฐศาสตร์การเงิน และมหาวิทยาลัยต่าง ๆ เข้าร่วมประชุมที่จะมีขึ้นในวันที่ 8 มีนาคม 2566 นี้

อย่างไรก็ดี เนื้อหาและวาระในการประชุมคาดว่าว่าไม่ได้เป็นประเด็นการออกมาตรการ หรือวาระเร่งด่วน แต่น่าจะเป็นการประชุมเพื่อรับฟังและเปลี่ยนความคิดเห็น และฟังมุมมองในเชิงกว้างจากบุคคลคนภายนอกต่อนโยบายการเงิน เนื่องจาก ธปท.เป็นผู้ที่มีหน้าที่ดูแลเสถียรภาพเศรษฐกิจของประเทศ ซึ่งองค์ประกอบจะมีหลายเรื่องทั้งนโยบายการเงิน อัตราดอกเบี้ย เศรษฐกิจภาพรวม ตลอดจนเรื่องค่าเงิน เป็นต้น

เศรษฐศาสตร์

ทั้งนี้ ในช่วงที่ผ่านมา ธปท.ได้มีการรับฟังความคิดเห็นกับนักวิเคราะห์และนักเศรษฐศาสตร์เป็นช่วง ๆ และตามวาระอยู่แล้ว ซึ่งกรณีมีเรื่องเร่งด่วนหรือมาตรการสำคัญ ธปท.จะมีการเชิญไปร่วมฟังถึงนโยบายหรือสิ่งที่ธปท.จะดำเนินการเช่นกัน โดยให้นักเศรษฐศาสตร์แสดงความคิดเห็น อย่างไรก็ดี ในช่วงการระบาดของโควิด-19 อาจจะทำให้การสื่อสารแบบพบปะค่อนข้างยากขึ้น แต่หากมีวาระเร่งด่วนก็จะมีการประชุมทางออนไลน์

“ธปท.ได้ส่งจดหมายเชิญประชุมมาสักพักแล้ว มองว่า ธปท.คงอยากรับฟังความคิดเห็นจากนักเศรษฐศาสตร์ และสื่อสารกันโดยตรงระหว่างนักวิเคราะห์และ ธปท. แต่คงไม่ได้คุยเฉพาะเจาะจงเรื่องใดเรื่องหนึ่งเป็นพิเศษ และไม่น่าจะเป็นวาระเร่งด่วน แต่ดูภาพใหญ่ในองค์ประกอบของเสถียรภาพของเศรษฐกิจไทย”

เศรษฐกิจญี่ปุ่นจ่อเข้าสู่ ‘ภาวะถดถอย’ ปีหน้า เหตุส่งออกชะลอตัว

เศรษฐกิจญี่ปุ่นจ่อเข้าสู่ ‘ภาวะถดถอย’ ปีหน้า เหตุส่งออกชะลอตัว

มาร์เซล ไธเลียนต์ นักเศรษฐศาสตร์ญี่ปุ่นอาวุโสจาก Capital Economics กล่าวในรายการ Squawk Box Asia ของสถานีโทรทัศน์ CNBC ว่า เศรษฐกิจญี่ปุ่นน่าจะเข้าสู่ภาวะถดถอยในปีหน้า โดยส่วนใหญ่เป็นผลมาจากการส่งออกที่ลดลง

ล่าสุดทางการญี่ปุ่นรายงานว่า ขาดดุลการค้าถึง 1.5 หมื่นล้านดอลลาร์ในเดือนตุลาคม มากกว่าที่นักเศรษฐศาสตร์คาดการณ์ไว้ เนื่องจากการส่งออกโตเพียง 25.3% จากปีก่อน ชะลอตัวจาก 28.9% ในเดือนกันยายน ขณะที่การนำเข้าในเดือนตุลาคมพุ่งขึ้นถึง 53.5% จากปีก่อนที่ 45% ในเดือนก่อนหน้า

เศรษฐศาสตร์

ทั้งนี้ ญี่ปุ่นมีกำหนดรายงานข้อมูลการค้าเดือนพฤศจิกายนในวันที่ 15 ธันวาคม และมีกำหนดการเผยแพร่ GDP ไตรมาสที่ 3 ฉบับปรับปรุงในวันพฤหัสบดี (8 ธันวาคม) ขณะที่ Reuters Poll แสดงให้เห็นว่า นักวิเคราะห์ประเมินว่า GDP ญี่ปุ่น ไตรมาสที่ 3 น่าจะหดตัว 1.1% ในอัตรารายปี

ไธเลียนต์กล่าวอีกว่า ธนาคารกลางญี่ปุ่น (BOJ) มีแนวโน้มที่จะรักษาจุดยืนนโยบายการเงินแบบผ่อนคลายเป็นพิเศษต่อไป และจะไม่ขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบายแม้เศรษฐกิจจะหดตัว เนื่องจาก BOJ ระบุว่า ต้องการเห็นอัตราเงินเฟ้อที่ยั่งยืน ซึ่งอัตราเงินเฟ้อที่เห็นอยู่ตอนนี้ไม่ยั่งยืน

ขณะเดียวกันมีรายงานว่า ฮารุฮิโกะ คุโรดะ ผู้ว่าการธนาคารกลางญี่ปุ่น ได้ปัดความเป็นไปได้ในการทบทวนจุดยืนปัจจุบันของ BOJ แม้อัตราเงินเฟ้อพื้นฐานของญี่ปุ่นในเดือนพฤศจิกายนอยู่ที่ 3.6% สูงสุดในรอบ 40 ปี และสูงกว่าเป้าหมายของ BOJ ที่ 2%